Latest Entries »

1. ข้อใดจัดเป็นข้อมูล
ก. ป้ายราคาของเล่น
ข. การคำนวณเงินรายรับ-รายจ่าย
ค. จำนวนเงินที่เหลือจากการซื้อของ
ง. การคิดกำไรที่ได้จากการขายของ
——————————————————————————————————————
2. ข้อใดไม่เป็นการประมวลผลข้อมูล
ก. การเปรียบเทียบ
ข. การแจกแจง
ค. การสรุปผล
ง. การสัมภาษณ์
——————————————————————————————————————
3. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของข้อมูล
ก. ทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น
ข. ช่วยในการวินิจฉัยโรค
ค. เกิดความสนุกและผ่อนคลาย
ง. ช่วยประหยัดและสะดวกขึ้น
——————————————————————————————————————
4. แหล่งข้อมูลใด ไม่เข้าพวก
ก. การฟังเพลงจากวิทยุ
ข. การฟังเพื่อนเล่าเรื่องต่างๆ
ค. การดูโทรทัศน์
ง. การอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์
——————————————————————————————————————
5. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกต้อง
ก. ข้อมูล-การประมวลผล-สารสนเทศ
ข. สารสนเทศ-ข้อมูล-การประมวลผล
ค. สารสนเทศ-การประมวลผล-ข้อมูล
ง. การประมวลผล-ข้อมูล-สารสนเทศ
——————————————————————————————————————
6. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของข้อมูลและสารสนเทศที่ดี
ก. ถูกต้อง
ข. รวดเร็ว
ค. แปลกใหม่
ง. เชื่อถือได้
——————————————————————————————————————
7. ข้อใด ไม่เป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ
ก. โทรทัศน์
ข. หนังสือเรียน
ค. คอมพิวเตอร์
ง. ดาวเทียม
——————————————————————————————————————
8. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. สารสนเทศทำให้เกิดข้อมูล
ข. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดข้อมูล
ค. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดข้อมูลและสารสนเทศ
ง. ข้อมูลและสารสนเทศทำให้เกิดเทคโนโลยีสารสนเทศ
——————————————————————————————————————
9. โทรศัพท์เคลื่อนที่จัดเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้านใด
ก. ด้านการสื่อสาร
ข. ด้านธุรกิจพาณิชย์
ค. ด้านการศึกษา
ง. ด้านวงการบันเทิง
——————————————————————————————————————
10. นักเรียนได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดมากที่สุด
ก. ได้รับความสนุกจากการเล่นเกม
ข. ค้นคว้าหาความรู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
ค. ทำให้แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ง. ทำให้เรียนหนังสือได้ง่ายยิ่งขึ้น

ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และเป็นผู้ประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนกรอกข้อความลงในใบสมัคร และทางโรงเรียนมีการนำข้อมูลไปคำนวณค่าทางสถิติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือก เช่น จำนวนผู้สมัครแยกตามอายุ เพศ เป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นว่านักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยเป็นผู้ประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้งานได้ และผู้รับสมัครเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อตัดสินใจ

ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจต้องอาศัยข้อมูลเป็นหลัก จึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการข้อมูล ดังจะเห็นได้จากการแข่งขันด้านการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อมูลเป็นหัวใจของการดำเนินงาน เป็นแหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ บริษัทหรือองค์กรจึงดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล และดูแลรักษาข้อมูลของตนเป็นอย่างดี เพราะข้อมูลเป็นสิ่งมีค่า มีราคา การโจรกรรมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ  

2.1.2 คุณสมบัติของข้อมูล
     การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีแผนในการดำเนินการ หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์ องค์การจำเป็นต้องลงทุน ทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับระบบ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาต่างๆ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง สามารถดำเนินการได้ ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน ข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1.ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ถ้าข้อมูลที่เก็บมาเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้ การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ รูปแบบการจัดเก็บ ข้อมูลต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด

2.ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน

3.ความสมบูรณ์ ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์คือข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งจะขึ้นกับวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการประมวลผล ดังนั้นใน การดำเนินการรวบรวมข้อมูลต้องสำรวจและสอบถามความต้องการในการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์

4.ความกระชับและชัดเจน การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่มาก จึง จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กระชับและสื่อความหมายได้ อาจมีการใช้รหัสแทน ข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ

5.ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อ หาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล และขอบเขตของข้อมูลที่ สอดคล้องกับความต้องการ

2.1.3 ชนิดและลักษณะของข้อมูล

           ข้อมูลสำหรับการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1) ข้อมูลชนิดจำนวน (numeric data) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้เขียนได้หลายรูปแบบ เช่น

  (ก) จำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12 , 9 , 137, -46
  (ข) จำนวนทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12.0 หรือเป็นจำนวนที่มีทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763

เลขทศนิยมนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
   แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 9.0 , 17.63 , 119.3267 , -17.34
   แบบที่ใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
           123.0 X 104       ซึ่งหมายถึง     1230000.0
           13.76 X 10-3      ซึ่งหมายถึง     0.01376

       ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจต้องอาศัยข้อมูลเป็นหลักจึงมีการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยจัดการข้อมูลอย่างมาก
ดังจะเห็นได้จากการแข่งขันการให้บริการของธนาคารพาณิชย์การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจประกอบการตัดสินใจลงทุนซื้อขาย
หลักทรัพย์ ข้อมูลเป็นหัวใจของการดำเนินงานเป็นแหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ บริษัทหรือองค์การ จึงดำเนินการ อย่างจริงจังให้ได้มาซึ่งข้อมูล และปกป้องดูแลข้อมูลของตนเป็นอย่างดี เพราะข้อมูลเป็นสิ่งมีค่ามีราคา การโจรกรรม ข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆจึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ดังจะเห็นจาก กระบวนการเลือกตั้ง หลายพรรค การเมือง มีการใช้เทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อ สถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างเกิดผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์ จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที

จากที่กล่าวมาแล้ว ข้อมูลคือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็น ต้องเป็นข้อมูลที่ดีมี ความถูกต้องแม่นยำ
สำหรับสารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้
ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะกับการใช้งานได้ทันเวลาและอยู่ในรูปแบบ
ที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ จะต้องมีการควบคุม ดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนด ให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับ จะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุมกำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้ เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือ มีความเกี่ยว ข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้
ประโยชน์ องค์การจำเป็นต้องลงทุน ทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็น
จริง สามารถดำเนินการได้ ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง
หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้าง ข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มา
จากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้

2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตี ความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้

3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำ
สารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม

4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิว
เตอร์

5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์
การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศ เพื่อการใช้งาน

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!